คิดถึงแบบเรียนเก่าที่เรารัก

Last updated: 17 ม.ค. 2563  |  2463 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คิดถึงแบบเรียนเก่าที่เรารัก

คิดถึงแบบเรียนเก่าที่เรารัก
โดย : ณิชาดา คงพันธุ์ บัณฑิตอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   หนังสือแบบสอนอ่านภาษาไทยเรื่อง "นิทานร้อยบรรทัด" กระทรวงศึกษาธิการได้ให้หลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ เสขะนันท์)  แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบเรียนของชั้นประถม โดยเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยแต่งเป็นนิทานคำกลอนเรื่องสั้นๆ ในแต่ละเรื่องมีจำนวนร้อยบรรทัด (100 บรรทัด) เหตุที่ท่านแต่งเป็นคำกลอน เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกคำภาษาไทยโดยอาศัยความคล้องจองของคำแต่ละคำที่จะช่วยให้เด็กจดจำง่าย นิทานร้อยบรรทัดมีทั้งหมด ๖ เล่ม แต่ที่เคยได้เรียนน่าจะถึงแค่เล่มที่ ๓

   

   เนื้อหาของนิทานก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆ เล่มแรกเป็นชั้นประถม ๒ ก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ คำไม่ยาวมาก เป็นเรื่องของเด็กสองคน ไปเจอนกตัวหนึ่ง นกได้พูดคุยกับเด็กและขอมาอยู่ด้วยที่บ้าน นิทานร้อยบรรทัดทั้ง ๖ เล่มมีดังนี้

  • เล่ม ๑ ชั้นประถม ๒ เรื่อง บ้านที่น่าอยู่ ตอนที่๑
  • เล่ม ๒ ชั้นประถม ๓ เรื่อง บ้านที่น่าอยู่ ตอนที่๒
  • เล่ม ๓ ชั้นประถม ๔ เรื่อง ครูที่รักเด็ก
  • เล่ม ๔ ชั้นประถม ๕ เรื่อง ประเทศเล็กที่สมบูรณ์
  • เล่ม ๕ ชั้นประถม ๖ เรื่อง ตระกูลไทยที่คงไทย
  • เล่ม ๖ ชั้นประถม ๗ เรื่อง ประชาธิปไตยที่ถาวร

     
 
  • ภาพประกอบในแบบเรียนนี้ เล่มที่ ๑ ๓ และ ๕ วาดโดย อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ 
  • ส่วนเล่ม ๒ ๔ และ ๖ ไม่ทราบผู้วาด
  • แบบเรียนชุดนี้เป็นแบบเรียนที่ประทับใจอีกชุดหนึ่ง ทั้งเนื้อเรื่องที่เป็นคำกลอนทำให้อ่านสนุก จำง่าย
  • ภาพประกอบที่สวยงามฝีมือ อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์

อ้างอิง : https://www.facebook.com/100006894011325/posts/2056155811290866?s=100015079459108&sfns=xmwa

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้