Last updated: 17 ม.ค. 2563 | 36472 จำนวนผู้เข้าชม |
มารู้จัก ร้านโชวห่วย กันเถอะ
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่าร้านโชวห่วยกันมาก่อนแล้ว แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่คงไม่ค่อยอินกับคำๆนี้ เพราะเด็กยุคใหม่เกิดขึ้นมาพร้อมกับร้านค้าแบบสะดวกซื้อที่ติดแอร์สะดวกสบายต่อการจับจ่ายใช้สอย ต่างกับร้านโชวห่วยที่คนซื้อไม่อาจหยิบจับหรือเลือกสิ่งของเครื่องใช้ได้อย่างอิสระเพราะต้องบอกเจ้าของร้านหรือลูกจ้างในร้านให้เป็นผู้จัดหามาให้
คำว่าโชวห่วยตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามไว้ดังนี้ “โชห่วยคือร้านขายของชำ” เป็นคำที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วที่สามารถอ่านได้ว่าโชวห่วย (ต้องมี ว เป็นตัวสะกดด้วย สมัยก่อนยังมีการเขียนและอ่านกันอย่างถูกต้อง แต่ปัจจุบันมีคนอุตริตัดตัว ว ออกไป) ซึ่งหมายถึง สินค้าพื้นๆที่ใช้กินใช้สอยประจำวัน ส่วนในภาษาจีนแต้จิ๋วใช้คำว่าร้านจับห่วยซึ่งหมายถึงร้านสารพัดสินค้าหรือจะเรียกให้ไพเราะขึ้นมาหน่อยก็เรียกว่าร้านหลากสินค้า ในญี่ปุ่นร้านลักษณะนี้เรียกว่า โชเต็ง ซึ่งแปลว่าร้านขายของนั่นเอง ส่วนในเมืองฝรั่งมังค่าเขาเรียกร้านประเภทนี้ว่า “มัมแอนด์พัพสโตร์” ซึ่งแปลให้เข้าใจง่ายๆก็คือร้านพ่อแม่พี่น้องซึ่งจะคล้ายๆกับร้านของเพื่อนบ้านใกล้เคียงนั่นเอง ไม่ว่าจะชื่อเสียงเรียงนามอย่างไรก็ตามร้านโชวห่วยโดยทั่วไปก็มักจะอยู่ในตึกแถวที่มีขนาดต่างๆกันตั้งแต่คูหาเดียวไปจนถึงหลายๆคูหา โดยมากเป็นกิจการเล็กๆในครัวเรือน สร้างรายรับเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน ข้อได้เปรียบของร้านโชวห่วยในอดีตที่ทำให้เราต้องใช้บริการกันเกือบทุกวันก็เพราะ
- การเข้าถึงและรู้จักลูกค้าที่มากกว่าเพราะเป็นร้านค้าในชุมชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เห็นหน้ากันอยู่ทุกวันแล้วนั่นเอง
- ระบบอันเป็นเอกลักษณ์ของโชวห่วยไทย อาทิเช่น การขายบุหรี่แบบแบ่งขาย การขายเหล้าเป็นเป๊กให้ลูกค้ารายย่อยมากๆ หรือการเซ็นไว้จ่ายสิ้นเดือน
- การจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ที่เจ้าของร้านสามารถจัดได้เองโดยไม่ต้องผูกมัดกับเอเย่นต์ผู้ส่งของ
- การหาสิ่งของที่เป็นเอกลักษณ์ของร้านตัวเองมาขายได้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น ขนมเด็ก ของเด็กเล่น ยันไปจนถึงเครื่องพริกแกง เป็นต้น
27 ก.พ. 2562
28 ธ.ค. 2561
28 ธ.ค. 2561
10 ก.พ. 2562